ซาไกสะอื้น!น้ำตาไหลด้วยความดีใจ หลังรัฐบาลเตรียมให้สิทธิ์ เท่าเทียมประชาชนทั่วไป เผยชีวิตที่ผ่านมา สุดลำเค็ญ ฟังแล้วถึงกับสลดใจ

วันที่ 17 มิถุนายน 2560 รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร รองศาสตราจารย์ประจำวิชาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และที่ปรึกษาโครง...


วันที่ 17 มิถุนายน 2560 รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร รองศาสตราจารย์ประจำวิชาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และที่ปรึกษาโครงการบางกอกคลินิก พร้อมมูลนิธิ ฮันส์ ไซเดล แห่งประเทศเยอรมัน พร้อมคณะลงพื้นที่จัดวงเสวนาชี้ทางรอดสิทธิ์การศึกษาชนพื้นเมือง ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ลงพื้นที่พูดคุยหาโอกาสแก่มันนิ หรือซาไกเพื่อให้มีความยังยืนด้านสุขภาพและสิทธิ์ของคำว่ามนุษย์โดยมีชาวบ้าน เจ้าหน้าที่สาธรณสุขในพื้นที่ ข้าราชการ ผู้นำท้องถิ่น และชาวมันนิมาร่วมรับฟังที่ห้องประชุมบ้านจันทระล่องแก่งโฮมเสตย์ ตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล


สำหรับการลงพื้นที่ ต้องการร่วมหาทางออกด้านสุขภาพหลังพบว่าปัจจุบันการรักษาชาวมานิยังคงไม่ได้รับสิทธิ์เต็มทีเหมือนประชาชนทั่วไป ซึ่งมานิในพื้นที่ล่องแก่งวังสายทองพบว่า ณ โอกาสนี้เสี่ยงโรคมากมาย ทั้งโรคเบาหวานที่เกิดจากสังคมการกินที่เปลี่ยนและความเป็นอยู่ที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในนี้ มันนิได้อาหารจากชาวนักท่องเที่ยวคนมาเยี่ยมซื้อของกินสารพัด จึงทำให้การกินการอยู่เปลี่ยนไป

รวมทั้งปัญหาเรื่องสิทธิ์ทำกิน พื้นที่อาศัย การมีบัตรประชาชน การมีสิทธิ์เท่าเทียมประชาชนคนทั่วไปเรื่องการเลือกทหาร การเลือกตั้ง การมีสิทธิ์รักษาพยาบาล การคลอดโรค ฉีดวัคซีน เพราะอย่างไรมานิเหล่านี้ควรที่จะมีความเป็นอยู่ที่ดีเท่าเทียมคำว่าประชาชนเต็มตัวโดยมี

รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร กล่าวว่า ทางกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งตรงลงมาให้ทางระดับผู้ใหญ่เร่งสำรวจปัญหาการตกหล่นสิทธิ์ของมานิหรือผู้ตกหล่นนำไปตรวจเลือด มีสิทธิ์เท่าเทียมกันต่อไป และสำหรับประเทศไทยนั้น อาจารย์วัลลภ ตังคณานุรักษ์ หรือ "ครูหยุย" ในฐานะประธานคณะ กรรมาธิการสังคม กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้รับฟังข้อเสนอของสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยในเรื่อง ร่าง. พ.ร.บ สภาชาติพันธุ์และชน เผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 30 มกราคมพ.ศ 2559



ดังนั้นเพื่อเป็นข้อมูลของสภานิติบัญญัติแห่งชาติในเรื่องนี้ บางกอกคลีนิค เเละ HSF. จึงเรียนชอบว่าโครงการศึกษาชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทยจึงควรเกิดขึ้นเพื่อสำรวจสถานการณ์ด้านข้อเท็จจริง และตลอดจนเพื่อวิเคราะห์ข้อความจริงที่ค้นพบ อันจะนำไปสู่การปฏิรูป กฎหมายและนโยบายเพื่อคนดั้งเดิมของประเทศไทย โครงการ สตูลศึกษา 2 จึงเป็นก้าวมาอีกครั้งหนึ่งเพื่อคนด้อยโอกาสพื้นที่จังหวัดสตูลโดยเฉพาะ เพื่อชาวมานิและชาวเลในจังหวัดสตูล คณะทำงานในบางกอกคลีนิค ตระหนักดีว่า คนดังเดิมกลุ่มหนึ่งในประเทศไทยที่ยังประสบความด้อยโอกาส หรือ ความ เปราะบาง อย่างมากก็คือ 1 กลุ่มชาวเลในประเทศไทยซึ่งอาจจะถูกเรียกว่า มอแกน มอแกลน อุรักลาโวย หรือ และ 2 กลุ่มชาวมานิ หรือบางครั้งถูกเรียกว่าซาไกหรือเซมัง ซึ่งเป็นคนดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในคาบ สมุทรมลายูซึ่งต่อมาก็คือส่วนหนึ่งของประเทศไทยและคนดังกล่าวก็อาศัยอยู่อย่างมากมายในเขตพื้นที่ของจังหวัดสตูล

Cr:http://www.siamdrama.com/view-8876.html

You Might Also Like

0 comments

Flickr Images