Hot news
สิ้นแล้ว เกจิดัง!หลวงพ่อรวยแห่งวัดตะโก ละสังขาร ศิษยานุศิษย์สุดเศร้าสูญเสียพระอริยสงฆ์(อ่านประวัติ)
6:40 PMเมื่อ วันที่ 20 กรกฏาคม 2560 เวลา 23.40 น. ทางทีมงานสยามนิวส์ ได้รับข้อมูลสุดสะเทือนใจ ของการมรณภาพของเกจิชือดัง หลวงพ่อรวย ปาสาทิโก
ซึ่งประวัติของท่านมีดังนี้
หลวงพ่อรวยวัดตะโก
เป็นหนึ่งพระเกจิอาจารย์แห่งกรุง เก่าเมืองอู่ข้าวอู่น้ำ เมืองร่องรอยประวัติศาสตร์การต่อสู้อันยิ่งใหญ่ อุดมไปด้วยพระเกจิอาจารย์นับตั้งแต่อดีตกาลมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นที่กล่าวขานศรัทธาเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป
หลวงพ่อรวย ปาสาทิโก หรือในสมณศักดิ์พระราชทินนามที่ พระครูสุนทรธรรมนิวิฐ เจ้า อาวาสวัดตะโก ต.ดอนหญ้านาง อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นพระเกจิอาจารย์แนวหน้าในยุคนี้ที่งดงามด้วยปฏิปทาศีลวัตรสัจคุณ ดำรงสมณเพศอย่างสมถะ เป็นพระนักปฏิบัติมากว่าที่จะเป็นพระธรรมกถึกทั้งเป็นพระนักพัฒนาทำความ เจริญรุ่งเรืองมาสู่วัดตะโก ท่านได้สืบทอดพุทธาคมมาจาก หลวงพ่อชื่น วัดภาชี ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ ซึ่งสืบทอดวิชาพุทธาคมมาจากหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ ผู้เป็นพระบุรพาจารย์ที่โด่งดังเลื่องลือกิติศัพท์ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ทั้งสืบสายพุทธาคมโดยตรงจากหลวงพ่อแจ่ม วัดวังแดงเหนือ ที่เชี่ยวชาญวิชาอาคมโดดเด่นในด้านเมตตามหานิยมและคงกระพันชาตรีเป็นหนึ่ง อีกด้วย
กิติคุณชีวประวัติ ชาติภูมิ หลวงพ่อรวย ถือกำเนิดเมื่อ พ.ศ.2464 เป็นบุตรคนที่ 6 ในจำนวนพี่น้องร่วมอุทรเดียวกัน 8 คน (ชาย 3 หญิง 5) ของคุณโยมบิดา มี โยมมารดา สินลา ศรฤทธิ์ (บรรพบุรุษของสกุลศรฤทธิ์นี้ เป็นเชื้อสายชาวกรุงศรีสัตนาคนหุต) ณ บ้านตะโก หมู่ที่ 2 ต.ดอนหญ้านาง อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา ปฐมวัยและการศึกษาเบื้องต้น
ชีวิตในปฐมวัยมีความเป็นอยู่เหมือนๆ กับเด็กในชนบททั่วไป คือได้ช่วยเหลือพ่อแม่ประกอบอาชีพทางด้านเกษตรอันถือได้ว่าเป็นเมืองอู่ข้าว อู่น้ำมาแต่บรรพชน ทั้งช่วยเหลือเลี้ยงดูเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย มาโดยตลอด
ส่วนการศึกษาเมื่ออายุได้ 12 ปี ได้เข้ารับการศึกษาเบื้องต้นในโรงเรียนวัดตะโก เพราะเด็กๆ ในสมัยนั้นยังไม่มีโรงเรียนประถมศึกษาของทางราชการในละแวกตำบลดอนหญ้านาง ต้องอาศัยพระสงฆ์เป็นครูสอนบนศาลาการเปรียญของวัด จนมีความรู้อ่านออกเขียนได้ มีความรู้เทียบได้ชั้นประถมปีที่ 4 ก็ออกจากโรงเรียนสู่เพศพรหมจรรย์
อายุครบบวช ราว พ.ศ.2484 ก็อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดตะโก โดยมีพระครูสุนทรธรรมนิวิฐ (หลวงพ่อชื่น) เจ้าอาวาสวัดภาชี เจ้าคณะอำเภอภาชีเป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดจ้อย เจ้าอาวาสวัดวิมลสุนทร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระสมุห์บุญช่วย เจ้าอาวาสวัดตะโก(ในสมัยนั้น) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับสมณฉายาว่า “ปาสาทิโก”” ครั้นอุปสมบทแล้ว อยู่จำพรรษาที่วัดตะโกเรื่อยมาได้ศึกษาด้านคันถธุระพระปริยัติธรรมเพิ่มเติม จนสอบได้นักธรรมชั้นโท ใน พ.ศ.2485 และสอบได้นักธรรมชั้นเอกใน พ.ศ.2487
สืบทอดพุทธาคม หลังจากจบนักธรรมเอกแล้ว ท่านคิดว่าเพียงพอสำหรับด้านคันถธุระแล้ว เพราะพระที่อยู่ตามชนบทบ้านนอกพอที่จะรักษาพระธรรมวินัยเพศพรหมจรรย์ให้ รุ่งเรืองและเป็นนำสอนชาวบ้านบ้านได้แล้ว ท่านก็หันมาสนใจทางด้านวิปัสสนาธุระโดยมองเห็นประโยชน์ในด้านการปฏิบัติ เมื่อเป็นเช่นนั้นก็ออกเดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาเรียนพระกรรมฐานกับครู บาอาจารย์เก่งๆ ในยุคนั้น อาทิเช่น
1.หลวงพ่อชื่น วัดภาชี อยุธยา เชี่ยวชาญด้านวิปัสนากรรมฐานที่สืบทอดพุทธาคมมาจากหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ เป็นที่รู้จักกันดีในยุคนั้นซึ่งมีศิษย์ที่ศึกษาวิชาจากหลวงพ่อกลั่นมากมาย อาทิเช่น หลวงพ่อใหญ่ หลวงพ่ออั้น หลวงพ่อเภา หลวงพ่อศรี หลวงปู่ดู่ และหลวงพ่อชื่น ศิษย์หลวงพ่อกลั่นที่กล่าวถึงทั้งหมดนี้ปัจจุบันได้มรณะภาพไปหมดแล้วซึ่งแต่ ละองค์ล้วนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างดี
2.หลวงพ่อแจ่ม วัดแดงเหนือ เชี่ยวชาญเวทมนต์คาถาอาคม ได้ถ่ายทอดสรรพวิชาให้หลวงพ่อรวยทุกอย่าง อาศัยความขยันหมั่นเพียรและความตั้งใจมุ่งมั่นจึงก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว จนวิชาที่เล่าเรียนปฏิบัติเข้มขลังในพลังแห่งวิทยาคมสูงส่ง
กิตติคุณ เป็นพระเกจิที่เปี่ยมเมตตาธรรมสูง มีความเป็นอยู่อย่างสมถะ เชี่ยวชาญสรรพเวทวิยาคม วัตถุมงคลเข้มขลังเปี่ยมพลังพุทธคุณมากประสบการณ์ แคล้วคลาดนิรันตราย และเมตตา มหานิยม โชคลาภ เป็นหนึ่ง
ปาฏิหาริย์ของหลวงพ่อรวยวัดตะโก ลูกศิษย์คนหนึ่งชื่อ คุณน้อยได้เล่าว่า ตนพกหลวงพ่อติดตัวตลอด จากประสบการณ์ตอนนั้นกำลังมีปัญหาทะเลาะวิวาทโดยที่ตอนขับรถผ่านไปแล้วเจอคู่อริ จึงมีเหตุทะเลาะวิวาทแล้วตนเองถูกคู่อริยิงใส่ รถพังยับเยิน แต่ตนนั้นไม่เป็นอะไรแม้แต่น้อยพอตนเองตั้งสติได้ก็รีบหนีออกจากจุดเกิดเหตุก่อนจะยกมือไหว้ต่อหลวงพ่อรวยที่ช่วยให้ตนรอดพ้นจากภัยอันตรายครั้งนี้มาได้
คาถามหาลาภ สำหรับสวดบูชาวัตถุมงคล หลวงพ่อรวย
สัมพุทธชิตา จะ สัจจานิ เกรัตสะ พระพุทธชิตา สัพพโส คุณะวิภา สัมปัตโต นะรุตตะโม มหาลาภัง ภวันตุ เม.
CR:http://www.siamnews.com/view-2857.html
0 comments