เป็นเรื่องไหญ่แล้ว!! นักวิชาการถาม ทำไมต้องห้ามชาวบ้านหาหน่อไม้ในเขตอุทยาน อ่านแล้วบอกเลยสะดุ้งเฮือก!

วันที่ 19 ต.ค. ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โพสต์ภาพห้ามเข้าไปหาของป่าในเขตอุทยาน...


วันที่ 19 ต.ค. ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โพสต์ภาพห้ามเข้าไปหาของป่าในเขตอุทยานในเฟซบุ๊กส่วนตัว “Chainarong Sretthachau”

พร้อมเขียนข้อความว่า

Rich forest, poor people

ป่าสมบูรณ์ แต่คนยากจน เกิดจากวิธีคิดในการอนุรักษ์ที่แยกคนออกจากธรรมชาติ โดยรัฐใช้วิธีการครอบครองอาณาบริเวณ (territorialization) และออกกฎเกณฑ์ว่าใครมีสิทธิเข้าถึงทรัพยากร ใครไม่มีสิทธิ

ยิ่งไปกว่านั้น ในปัจจุบัน การอนุรักษ์ยังเป็นการแย่งยึดป่าชุมชนของชาวบ้านมาอยู่ในมือรัฐ เช่น การไปแย่งยึดป่าชุมชนที่ชาวบ้านช่วยกันอนุรักษ์และฟื้นฟูมาประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ

การจัดการทรัพยากรแบบนี้ รังแต่จะทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างรัฐกับชุมชนไม่สิ้นสุด และคนจนที่จำเป็นต้องพึ่งพึงทรัพยากรจากป่าในการดำรงชีวิตและรายได้ทางเศรษฐกิจสำหรับจุนเจือครอบครัวก็จะกลายเป็นอาชญากร

ขณะที่แม้ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติก็ไม่ได้มีหลักประกันว่ารัฐจะรักษาไว้ได้ เพราะวันดีคืนดีก็อาจถูกเพิกถอนเอาไปทำเขื่อน เช่น อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ที่รัฐอยากสร้างเขื่อนแม่วงก์ และอุทยานแห่งชาติแม่ยมที่รัฐอยากสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น

การอนุรักษ์ที่ดีที่สุดและจะสำเร็จได้ก็ต้องโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน หากคนในชุมชนที่เคยอยู่กับป่าสามารถเข้าถึงทรัพยากรในป่าได้ โดยเฉพาะผลผลิตที่ไม่ใช่เนื้อไม้ (Non-timber forest products-NTFPs) เช่น เห็ด หน่อไม้ ฯลฯ ชุมชนก็จะช่วยในการอนุรักษ์ป่า จะทำให้การอนุรักษ์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และไม่ทำให้การอนุรักษ์ของรัฐเป็นศัตรูกับชุมชน



ผู้สื่อข่าวรายงานว่าข้อมูลของกรมป่าไม้ จากการแปลภาพถ่ายดาวเทียม โดยกรมป่าไม้ ระบุว่าประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้ ร้อยละ 31.58 ของพื้นที่ประเทศ หรือเท่ากับ 102,174,805.09 ไร่ (163,479.69 ตารางกิโลเมตร) ลดลงจาก ปี พ.ศ. 2558 ร้อยละ 0.02 หรือ 66,000 ไร่ โดยประมาณ

และจากสถิติพื้นที่ป่าไม้ประเทศไทย จากปี พ.ศ. 2557-2559 ระยะเวลา 2 ช่วงปีที่ผ่านมา พื้นที่ป่าลดลง ร้อยละ 0.02 ทุกปี หรือเฉลี่ยปีละ 60,000 ไร่ โดยประมาณ และจากข้อมูลที่เก็บตั้งแต่พ.ศ.2516 ระบุชัดเจนว่าพื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยสาเหตุหลักที่ทำให้พื้นที่ป่าลดลงเนื่องจากการตัดไม้ทำลายป่า การบุกรุกพื้นที่ป่า การปลูกพืชเศรษฐกิจ การจัดสร้างสาธารณูปโภคของรัฐ เป็นต้น

ในส่วนนโยบายทวงคืนผืนป่าของรัฐบาล คสช. โดยคำสั่ง คสช.ฉบับที่ 64 เรื่องการปราบปรามและการหยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ โดยให้อำนาจเจ้าหน้าที่ของรัฐในการปราบปรามและจับกุมผู้บุกรุก หรือยึดถือครอบครองพื้นที่ป่าอย่างจริงจังในทุกพื้นที่ และคำสั่ง คสช. ที่ 66/2557 ที่พูดถึงกรณีคนจน ผู้ยากไร้ ให้ดำเนินการโดยไม่ให้เกิดผลกระทบ ส่วนคนรวย นายทุน ผู้มีอิทธิพล ให้ดำเนินคดีทุกราย

นโยบายดังกล่าวนำมาสู่การยึดพื้นที่ทำกินของประชาชนที่อยู่ในแนวขอบพื้นที่ป่าหลายพื้นที่ทั่วประเทศจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ ส่งผลกระทบกับชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่า และยังเป็นการให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งมีปัญหาขัดแย้งกับชาวบ้านในพื้นที่พิพาทในหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทย

จนมีข้อเรียกร้องให้รัฐบาลหยุดดำเนินการนโยบายดังกล่าว เพราะไม่สามารถแก้ปัญหาบุกรุกพื้นที่ป่าได้จริง และยังเป็นนโยบายที่ส่วนมากเป็นชาวบ้านยากจนได้รับผลกระทบและถูกดำเนินการจากเจ้าหน้าที่

ขอบคุณภาพจากเฟซบุ๊ก : Janthon Janthon

CR:https://www.siamnews.com/view-8435.html

You Might Also Like

0 comments

Flickr Images